ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) นำมาใช้งานได้อย่างไม่สิ้นสุด ปัจจุบันการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์มีหลากหลายรูปแบบตามความต้องการ หนึ่งในอุปกรณ์เครื่องใช้ที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้นั่นก็ คือ ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลโดยไม่ต้องง้อสายส่งไฟฟ้า สามารถสรุปรายละเอียดของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดังนี้

1. ส่วนประกอบของระบบ


 

รูปแสดงส่วนประกอบของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

รูปแสดงส่วนประกอบของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ Cr.http://www.store.asolar.co.th/

 

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่

  1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า
  2. แบตเตอรี่ ทำหน้าที่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า
  3. เครื่องควบคุมการชาร์จและจ่ายไฟ ทำหน้าที่ควบคุมระดับแรงดันและกระแสเพื่อใช้ในการชาร์จไฟฟ้า
  4. ปั๊มน้ำ ทำหน้าที่ส่งน้ำจากจุดหนึ่งไปยังจุดที่ใช้งาน สามารถแบ่งได้ตามประเภทการสูบน้ำได้ 2 ประเภท ได้แก่ ปั๊มซับเมอร์ส ใช้สูบน้ำบาดาล และปั๊มแบบหอยโข่ง สำหรับสูบน้ำผิวดิน
รูปแสดงประเภทของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

รูปแสดงประเภทของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ Cr.http://skt-solarcell.blogspot.com/

 

2. หลักการทำงานของระบบ


สำหรับหลักการทำงานปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จะแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. แบบมีแบตเตอรี่ จะมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า แล้วทำการชาร์จเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ โดยมีตัวควบคุมการชาร์จและเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า คือ อุปกรณ์แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

2. แบบใช้ตรงไม่มีแบตเตอรี่ โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง สามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องมีเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถใช้งานได้เฉพาะกลางวัน จึงต้องมีถังเก็บน้ำหอสูงเพื่อใช้ในเวลากลางคืน โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกในการ

รูปแสดงหลักการทำงานของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 2 แบบ

รูปแสดงหลักการทำงานของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 2 แบบ Cr.http://ppp.energy.go.th/

 

3. ข้อดีและข้อเสียของปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์


ข้อดี

1. เป็นการประยุกต์ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด และไม่มีวันหมด
2. ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม
3. อุปกรณ์ไม่มีการเคลื่อนที่ขณะทำงาน จึงไม่เกิดเสียงดัง
4. การติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย อุปกรณ์ไม่ซับซ้อน
5. ระบบมีการบำรุงรักษาน้อย ดูแลไม่ยาก

ข้อเสีย

1. สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างจํากัดตามที่มีการออกแบบไว้
2. ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างต่ำ ผลิตไฟฟ้าได้น้อย จึงต้องใช้พื้นที่มากในการผลิตไฟฟ้า

 


 

เรียบเรียงโดย นุชนารถ ทรัพย์เมฆ

อ้างอิง

  1. คู่มือการใช้งานและบำรุงรักษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง
  2. บทความของ A Solar เรื่องปั๊มน้ำอัจฉริยะ-พื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าก็ใช้งานได้
  3. คู่มือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน โครงการศึกษาพัฒนาต้นแบบชุมชนพลังงานทดแทน
  4. การออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ - อ.เกษม ตรีภาค ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง

ประกาศลิขสิทธิ์ของ iEnergyGuru

3 Reviews

5
1
5

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *