ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split type)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

(split type)

 

1. อุปกรณ์หลักของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split type) นั้นมีอยู่ 4 ส่วน ดังนี้

 

v7bd059q0r29a3c

คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split type)

ภาพจาก : www.cmrefrig-acpart.com/

คอมเพรสเซอร์ เป็นหัวใจหลักของการทำงานในระบบอัดไอ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเพิ่มความดันของสารทำความเย็น   ทำให้สารทำความเย็นสามารถไหลเวียนได้ครบวงจรของระบบอัดไอ และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากที่สุด คือประมาณ 80% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศ
 

Copeland_condensing_units

อุปกรณ์ควบแน่น (Condenser)
หรือ คอยล์ร้อน (Condensing Unit ; CDU)

ภาพจาก : www.diytrade.com/

คอยล์ร้อน คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากไอเป็นของเหลว โดยการใช้พัดลมดูดอากาศมาระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นในแผงคอยล์ร้อน ซึ่งอุปกรณ์นี้มีการใช้พลังงานประมาณ 10% ไปกับพัดลมระบายความร้อน
 

EA03PC503A

วาล์วลดความดัน (Expansion Valve)

ภาพจาก:  www.bestbuyheatingandairconditioning.com/

วาล์วลดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็นหลังจากผ่านคอยล์ร้อน ซึ่งทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวความดันสูงเป็นของเหลวผสมไอ (Mixture หรือ 2-Phases) ที่มีความดันต่ำ
 

JUST-FCUS-SM-2

อุปกรณ์ระเหย (Evaporator)
หรือ คอยล์เย็น (Fan Coil Unit ; FCU)

ภาพจาก : www.qualityairservices.com/

คอยล์เย็น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวผสมไอ ให้กลายเป็นไออย่างสมบูรณ์ (ไออิ่มตัว) โดยการใช้พัดลมดูดอากาศจากภายในห้องปรับอากาศผ่านแผงคอยล์เย็น ซึ่งทำให้สารทำความเย็นรับความร้อนจากอากาศและเดือดกลายเป็นไอ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะมีการใช้พลังงานประมาณ 10% ไปกับพัดลมคอยล์เย็น

2. หลักการทำงาน

image002

รูปที่ 2 แสดงวัฏจักรการทำงานแบบอัดไอของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

ใช้หลักการทำงานของกระบวนการอัดไอ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการลดอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่ โดยการใช้สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์เป็นตัวกลางในการรับความร้อนจากอากาศภายในห้อง ออกไประบายทิ้งทางด้านนอกห้องปรับอากาศ ซึ่งส่งผลให้อากาศภายในห้องเย็นลง และมีความชื้นที่ลดลง โดยสามารถแสดงวัฏจักรการทำงานแบบอัดไอของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แสดงในรูปที่ 2

3. แผนภาพความดันเอนทัลปี (P-h Diagram)

เมื่อได้ทราบถึงอุปกรณ์หลักที่มีในเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแล้วนั้น ในลำดับถัดไปจะกล่าวถึงหลักการทำงานของระบบปรับอากาศแบบอัดไอ โดยสามารถอธิบายร่วมกับ รูปที่ 3 แผนภาพความดัน-เอนทาลปี (P-h Diagram) ได้ดังต่อไปนี้

 

รูปที่ 3 แผนภาพความดัน-เอนทาลปี (P-h Diagram)

จากแผนภาพ จะเห็นได้ว่ากระบวนการทำงานในระบบอัดไอนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 4 กระบวนการ ซึ่งสามารถอธิบายถึงรายละเอียดของแต่ละกระบวนการในแผนภาพได้ดังนี้

กระบวนการอัดเพิ่มความดัน

image005

 

จุดที่ 1 สารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็นในสถานะไออิ่มตัว ถูกดูดกลับเข้าไปยังคอมเพรสเซอร์เพื่ออัดสารทำความเย็นให้มีความดันสูงขึ้น ตามเส้น 1-2
กระบวนการควบแน่น

 

PIC-ENC-SPI-001 (2)

สารทำความเย็น จุดที่ 2 ถูกส่งเข้าไปยังแผงคอยล์ร้อนเพื่อผ่านกระบวนการควบแน่น โดยพัดลมคอยล์ร้อนจะดึงอากาศในบริเวณด้านหลังแผงคอยล์ร้อน เข้ามาผ่านแผงคอยล์ร้อน เพื่อลดอุณหภูมิ และเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น จากไอร้อนยิ่งยวด จุดที่ 2 เป็นของเหลวอิ่มตัว จุด 3 ซึ่งภาระความร้อนภายในห้องปรับอากาศจะถูกนำมาระบายทิ้งในกระบวนการนี้
กระบวนการลดความดัน

image006

จากนั้นสารทำความเย็น จุดที่ 3 จะถูกส่งผ่านเข้าไปยังวาล์วลดความดัน เพื่อทำให้มีอุณหภูมิและความดันลดลง ตามเส้น 3-4 ซึ่งสารทำความเย็น จุดที่ 3 นี้ อยู่ในสถานะของผสม คือเป็นของเหลวผสมไอ และกระบวนการนี้ไม่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าแต่อย่างใด
กระบวนการระเหย

image004

 

กระบวนการนี้เกิดขึ้นในแผงคอยล์เย็น โดยสารทำความเย็นในสถานะของผสม จุดที่ 3 จะถูกส่งเข้าไปยังแผงคอยล์เย็นเพื่อรับภาระความร้อนจากอากาศภายในห้อง และเปลี่ยนสถานะจากของผสมกลายเป็นไออิ่มตัว ก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าไปยังคอมเพรสเซอร์ และเข้าสู่กระบวนการอัดเพื่อเพิ่มความดันอีกครั้ง

ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศนั้น วิเคราะห์บนพื้นฐานของ สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) กับสิ่งที่จ่ายออกมา (Output) ซึ่งสามารถเขียนในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้

ประสิทธิภาพ = Output
                           input

สำหรับคำว่าประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศนั้น โดยทั่วไปเรามักกล่าวแทนด้วย ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER ; Energy Efficiency Ratio) ซึ่งสามารถแสดงในเชิงของสมการได้ ดังนี้

ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER) = ความเย็นที่ทำได้ (ฺBtu/hr)
พลังไฟฟ้าที่ใช้ (W)

หรือค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ อาจแสดงในอีกรูปแบบหนึ่งที่มักเป็นที่นิยมใช้ คือ ค่าพลังไฟฟ้าที่ใช้ต่อตันความเย็น ที่ทำได้  โดยที่ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12,000 บีทียู/ชั่วโมง

 kW/Tr =       พลังไฟฟ้าที่ใช้ (kW)    
ตันความเย็นที่ทำได้ (Tr)

การกำหนดระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ด้วยค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กำหนดไว้ดังตารางที่ 1 และสามารถแสดงตัวอย่างฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนได้ ดังนี้

ตารางที่ 1 ตัวเลขแสดงระดับประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

ระดับที่  (เบอร์) ระดับประสิทธิภาพ ค่า EER
5 ดีมาก ตั้งแต่ 10.6 ขึ้นไป
4 ดี ตั้งแต่ 9.6 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10.6
3 ปานกลาง ตั้งแต่ 8.6 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 9.6
2 พอใช้ ตั้งแต่ 7.6 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 8.6
1 ต่ำ ตั้งแต่ 6.6 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 7.6

image021

 รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างตราสัญลักษณ์ เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5

4. การประเมินการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ

จากที่ทราบแล้วว่า พลังงานไฟฟ้าคือผลคูณของค่าพลังไฟฟ้า กับชั่วโมงการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ดังนั้น สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน สามารถประเมินค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ได้ด้วยสมการ

พลังงานที่ใช้ = พลังไฟฟ้า x ชั่วโมงการเปิดใช้งาน x %การทำงานของคอมเพรสเซอร์
100

Bibliography
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). การตรวจวิเคราะห์การอนุรัก์พลังงาน ระบบปรับอากาศ. In กระทรวงพลังงาน, คู่มือการตรวจวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (pp. 5-2 - 5-6).
ienergyguru.com

1 Review

1

Write a Review

2 replies
  1. วีระชัย สมพงษ์
    วีระชัย สมพงษ์ says:

    สอบถามครับ เครื่องปรับอากาศ (คอยล์เย็น 202 ,คอยล์ร้อน 199 ) ตัวเลข 202 กับตัวเลข 199 มีความหมายอย่างไร ครับ

    ตอบกลับ

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *