การประเมินระยะเวลาในการตรวจสอบรับรองระบบการจัดการพลังงาน (ISO 50003)

การประเมินระยะเวลาในการตรวจสอบรับรองระบบ

การจัดการพลังงาน (ISO 50003)

(Duration of EnMS Audits ตามคำแนะนำในมาตรฐาน ISO 50003:2014)

การตรวจสอบระบบการจัดการพลังงานEnMS (ISO 50001) เพื่อขอการรับรองนั้น หน่วยงานที่ให้การรับรองหรือที่เรารู้จักกันในนามของ CB (Certify Body) จะคิดราคาค่าบริการในการตรวจสอบเพื่อให้การรับรองตามจำนวนของเวลาในการตรวจสอบ (man-days) โดยแต่ละ CB อาจจะมีราคาค่าบริการต่อ man-day มากน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่องค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ในส่วนของ จำนวนของระยะเวลาในการตรวจสอบ (Duration of EnMS audits) มีคำแนะนำในการประเมินจำนวนของ man-days ที่ใช้ในการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ISO 50001 ไว้ใน Annex A, Duration of EnMS audits ในมาตรฐาน ISO 50003,  Energy management systems-Requirements for bodies providing audit and certification of energy management systems (เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2014) ซึ่งคาดว่า CB ทุกแห่ง ควรจะยึดหลักเกณฑ์ฉบับนี้ในการคิดระยะเวลาในการตรวจสอบรับรองระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001  โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

1.การประเมินจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงาน (EnMS effective personnel)

บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงานประเมินจากกระบวนการในการตรวจประเมินของผู้ให้การรับรองว่าขอบเขตในการตรวจประเมินครอบคลุมบุคลากรในส่วนใด โดยการประเมินควรพิจารณาบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและส่งผลต่อระบบการจัดการพลังงาน(Who materially impact the EnMS) ดังนี้

  • ผู้บริหารระดับสูง (Top management)
  • ผู้แทนฝ่ายบริหารพลังงาน (EnMR)
  • ทีมจัดการพลังงาน
  • บุคลากรที่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อสมรรถนะด้านพลังงาน
  • บุคลากรที่รับผิดชอบต่อประสิทธิผลของระบบการจัดการพลังงาน
  • บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนา การปฏิบัติ หรือ การคงรักษาไว้ของการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน ซึ่งรวมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายและแผนปฏิบัติการ
  • บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ(Significant Energy Use; SEU)

หมายเหตุ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญอาจไม่ถูกนับรวมเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงานได้หากการปฏิบัติงานของเขาไม่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจบทบาทและผลกระทบในการปฏิบัติงานให้ดีก่อนที่จะรวมพวกเขาเข้าไว้ในจำนวนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงาน

ตัวอย่างที่ 1   โรงงานผลิตรถยนต์

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ EnMS เป็นบุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงในการสนับสนุนการใช้พลังงานในพื้นที่ลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ (Paint system, HVAC system) ทั้งระดับจัดการ  ผู้ปฏิบัติงาน  พนักงานซ่อมบำรุงและงานวิศวกรรม ผู้รับเหมาที่รับผิดชอบระบบ HVAC และ ทีมจัดการพลังงาน ซึ่งไม่ควรรวมถึงพนักงานธุรการ หรือ บุคลากรในสายงานประกอบ

ตัวอย่างที่ 2 อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ EnMS ของอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่  จะเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับระบบปรับอากาศในอาคาร ได้แก่ ช่างซ่อมบำรุง ฝ่ายวิศวกรรม ด้านการบริหารงานติดตั้งและปรับปรุงระบบปรับอากาศ  ด้านการจัดซื้อ และทีมงานจัดการพลังงาน  พนักงานอื่นๆ ที่ทำงานในอาคารหรืองานสนับสนุนด้านธุรการ ไม่ควรนับรวมเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ EnMS

2.การประเมินความซับซ้อนของระบบการจัดการพลังงาน (EnMS complexity)

 การประเมินถึงความซับซ้อนของระบบการจัดการพลังงานมีองค์ประกอบในการพิจารณา 3 ส่วนด้วยกันคือ

  • ปริมาณการใช้พลังงานต่อปี
  • จำนวนของแหล่งของพลังงานที่ใช้
  • จำนวนของลักษณะการใช้พลังงานที่มันัยสำคัญ(SEUs)

ความซับซ้อนของระบบการจัดการพลังงานคำนวณจากการถ่วงน้ำหนัก (Weight) ขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน โดยในการคำนวณมีข้อมูลอีก 2 ส่วนที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย

  1. การถ่วงน้ำหนัก หรือ ตัวคูณ
  2. Complexity factor

สมการในการคำนวญความซับซ้อน (Complexity; C) ดังนี้

C = (FEC x WEC) + (FES x WES) + (FSEU x WSEU)

FEC คือ ปริมาณการใช้พลังงานต่อปี (Complexity factor จากตารางที่ 1)

FES คือ จำนวนของแหล่งพลังงานที่ใช้ (Complexity factor จากตารางที่ 1)

FSEU คือ จำนวนของ SEU (Complexity factor จากตารางที่ 1)

WEC คือ การถ่วงน้ำหนักของปริมาณการใช้พลังงานต่อปี (Weight factor จากตารางที่ 1)

WES คือ การถ่วงน้ำหนักของจำนวนของแหล่งพลังงานที่ใช้ (Weight factor จากตารางที่ 1)

WSEU คือ การถ่วงน้ำหนักของจำนวนของ SEU (Weight factor จากตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 แสดงแฟคเตอร์ที่ใช้พิจารณาในการคำนวณค่าความซับซ้อน(Complexity)

ตารางที่ 1

 

เมื่อสามารถประเมินความซับซ้อนของระบบการจัดการพลังงานได้แล้ว ให้นำค่าที่คำนวณได้มาบ่งชี้ระดับความซับซ้อน ดังแสดงเกณฑ์ไว้ในตารางที่ 2

 ตารางที่ 2 แสดงระดับของความซับซ้อนของระบบการจัดการพลังงาน(Level of the EnMS complexity)

ตารางที่ 2

 

3.การประเมินระยะเวลาในการตรวจรับรองการจัดการพลังงาน (EnMS audit duration)

ระยะเวลาในการตรวจรับรองที่น้อยที่สุดประเมินบนพื้นฐานร่วมกันของ จำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงาน (EnMS effective personnel) และค่าความซับซ้อน (Complexity)  ตารางที่ 3 แสดงจำนวนระยะเวลาน้อยที่สุด(man-days)ในการตรวจรับรองในครั้งแรก (Initial Certification)

ตารางที่ 3 แสดงจำนวนระยะเวลาน้อยที่สุด(man-days)ในการตรวจรับรองในครั้งแรก(Initial Certification)

 

ตารางที่ 3

 

ตัวอย่างที่ 3  การประเมินระยะเวลาในการตรวจรับรองสำหรับ Initial Certification.

บริษัทแห่งหนึ่ง CB ได้ประเมินได้ประเมินว่ามีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ EnMS จำนวน 70 คน โดยบริษัทแห่งนี้มีปริมาณการใช้พลังงานต่อปีเท่ากับมี Complexity factor เท่ากับ 1.2 โดยมีน้ำหนัก 30% (ตามตารางที่ 1) มีจำนวนแหล่งพลังงานที่ใช้คือ 5 มี  Complexity factor เท่ากับ 1.4 โดยมีน้ำหนัก 30% (ตามตารางที่ 1) และมีจำนวน SEUs เท่ากับ 3 Complexity factor เท่ากับ 1.0 โดยมีน้ำหนัก 40% (ตามตารางที่ 1)

จากสมการ  C = (FEC x WEC) + (FES x WES) + (FSEU x WSEU)

ดังนั้นในกรณีนี้ C  = (1.2x0.3) + (1.4 x 0.3) + (1.0 x 0.4)

                              = 1.18

ค่า Complexity  เท่ากับ 1.18 ในตารางที่ 2  จะได้ Level of the EnMS complexity ในระดับ Medium นำค่าที่ได้ไปประเมินในตารางที่ 3 จะพบว่าจำนวนระยะเวลา (man-days) น้อยที่สุดในการตรวจรับรองในครั้งแรก (Initial Certification)  เท่ากับ 8 man-days

 

สำหรับการตรวจรายปี(Surveillance audits) และการตรวจรับรองรอบใหม่(Recertification audit) แสดงการประเมินจำนวนระยะเวลาในการตรวจรับรองในตารางที่ 4

 

ตารางที่ 4 แสดงจำนวนระยะเวลาน้อยที่สุด(man-days)ในการตรวจรายปี(Surveillance audits) และการตรวจรับรองรอบใหม่ (Recertification audit)

ตารางที่ 4

จากวิธีการที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นเป็นแนวทางที่ใช้ในการประเมินหลักของระยะเวลาในการตรวจรับรองของระบบการจัดการพลังงานของผู้ให้การรับรองระบบ (CB) ทั้งการตรวจสอบรับรองในช่วงแรก (Initial Certification) การตรวจรายปี (Surveillance audits) และการตรวจรับรองรอบใหม่ (Re-certification audit) ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับองค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการหาคำตอบว่าการตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงาน ISO 50001 ใช้ระยะเวลาในการตรวจรับรอง และมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ ?


 

แปลและเรียบเรียงโดย วิชาญ นาคทอง (ทีมงาน iEnergyGuru)

 

Bibliography

Internal Standard, ISO 50003 Energy management systems — Requirements for bodies providing audit and certification of energy management systems First edition 2014-10-15

Internal Standard, ISO 50001 Energy management systems — Requirements with Guidance for Use, First edition 2011-06-15

iEnergyGuru-Blue

การประเมินระยะเวลาในการตรวจสอบรับรองระบบ การจัดการพลังงาน (ISO 50003)

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *