BATTERY500 เก็บสะสมพลังงานได้เกือบ 3 เท่าของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน

BATTERY500 เก็บสะสมพลังงานได้เกือบ 3 เท่าของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน

แบตเตอรี่รถยนต์

PNNL(The Pacific Northwest National Laboratory) ผู้นำในการพัฒนา Battery 500 consortium มีความมุ่งหมายที่จะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้ได้เกือบ 3 เท่าของลิเที่ยมแบตเตอรี่ โดยในรูปคือ Jason Zhang นักวิจัยของ PNNL ผู้นำของกลุ่มความร่วมมือ (the consortium's group) ซึ่งมุ่งเน้นในการพัฒนาอีเล็กโทรดและอีเล็กโตรไรท์ของแบตเตอรี่

โดยสิ่งที่สำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า(EVs) ประการหนึ่ง คือ รถยนต์ไฟฟ้าต้องการใช้แบตเตอรี่ ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและราคาไม่แพงมากนัก ถ้าเพียงนักวิจัยระดับชาติจะทำมันให้ประสบความสำเร็จต้องมีความพยายามและเป้าหมายที่สูงยิ่งในการพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในวันนี้ซึ่งคงไม่ใช้เรื่องง่ายที่จะสามารถทำได้ตามลำพัง

ในปัจจุบันภายใต้การนำของ Pacific Northwest National Laboratory นั้น the Battery 500 consortium จะได้รับเงินสนับสนุนสูงถึง 10 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ตลอดระยะเวลา 5 ปี จาก the Department of Energy’s Office of Energy Efficiency and Renewable Energy โดยเป็นความร่วมมือในรูปแบบ The multi-disciplinary consortium ซึ่งนำโดยห้องทดลองระดับชาติของกระทรวงพลังงาน(DOE) ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ และภาคอุตสาหกรรม โดยทำงานร่วมกันในการวิจัยเพื่อนำไปสู่การผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กกว่า เบากว่าและราคาถูกกว่า

นอกจาก PNNL แล้วหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันในการวิจัย พัฒนาและผลิต ประกอบด้วย :
- Brookhaven National Laboratory
- Idaho National Laboratory
- SLAC National Accelerator Laboratory
- Binghamton University (State University of New York)
- Stanford University
- University of California, San Diego
- University of Texas at Austin
- University of Washington
- IBM (advisory board member)
เป้าหมายของ Battery500 คือการพัฒนา ลิเที่ยม-เมทอล แบตเตอรี่ ให้สามารถมีค่าพลังงานจำเพาะ (Specific energy) ได้เกือบ 3 เท่าของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สำหรับค่าพลังงานจำเพาะ (Specific energy) วัดจากผลรวมของพลังงานที่เก็บสะสมภายในแบตเตอรี่เทียบกับน้ำหนักของตัวมันเอง เพราะว่ารถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ต้องการให้รถมีน้ำหนักที่เบาจะได้วิ่งได้ระยะไกลขึ้นเมื่อชาร์ต ในระยะเวลาที่เท่ากันดังนั้น ค่าพลังงานจำเพาะ (Specific energy) ที่สูงกว่าจึงมีความสำคัญ โดยความร่วมมือครั้งนี้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างแบตเตอรี่ที่มีค่าพลังงานจำเพาะ 500 watt-hours per kilogram ซึ่งสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีค่าพลังงานจำเพาะ 170-200 watt-hours per kilogram เกือบ 3 เท่าตัว การพัฒนาได้มุ่งเน้นไปยังแบตเตอรี่ชนิด ลิเที่ยม-เมทอล ซึ่งใช้ลิเที่ยมแทนที่กราไฟท์เป็นขั้วลบ และทีมกำลังเปรียบเทียบระหว่างวัสดุอีก 2 ชนิดในการทำเป็นขั้วบวก โดยในขณะเดียวกันได้ศึกษาการป้องกันสิ่งที่ไม่ต้องการจากการเกิดปฏิกิริยาภายในตัวแบตเตอรี่ ซึ่งนั่นส่งผลต่อสมรรถนะของตัวแบตเตอรี่ควบคู่กันไปด้วย

แหล่งที่มาของข้อมูล

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *