30 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2527 กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีทะยานสู่อวกาศครั้งแรก

กระสวยอวกาศ (Space Shuttle) เกิดจากการริเริ่มขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา; นาซา (The US National Aeronautics and Space Administration; NASA) เมื่อปี พ.ศ. 2512 หลังสหรัฐฯ ประสบผลสำเร็จเป็นชาติแรกที่สามารถส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปยืนบนผิวดวงจันทร์ ความริเริ่มดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานความต้องการจะสร้างสถานีในอวกาศเพื่อเป็นที่พักขนถ่ายอุปกรณ์และมนุษย์ โดยยานจะต้องใช้งานได้ดังเครื่องบินพาณิชย์เพื่อให้ค่าใช้จ่ายถูกลง แต่ก็ต้องไม่เหมือนจรวดส่งดาวเทียมที่ใช้งานได้ครั้งเดียวหรือเพียงไม่กี่ครั้งก็ต้องทิ้งยานขนส่งหรือกระสวยอวกาศของสหรัฐ ตั้งแต่เริ่มโครงการถึงปัจจุบันมีด้วยกัน 6 ลำ คือ

  1. เอนเตอร์ไพรส์ (Enterprise) เป็นยานทดสอบ
  2. โคลัมเบีย (Columbia) (เกิดการระเบิดหลังกลับสู่โลกเพียง 16 นาที เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
  3. ดิสคัฟเวอรี (Discovery) (ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2554)
  4. แอตแลนติส (Atlantis) (ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2551)
  5. ชาลเลนเจอร์ (Challenger) ในการปฏิบัติภารกิจครั้งสุดท้ายได้ระเบิดกลางอากาศหลังขึ้นฟ้าได้เพียง 73 วินาที ลูกเรือ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529
  6. เอนดีฟเวอร์ (Endeavour) (ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2554)

 

กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี กำลังปล่อยยานจากฐานเที่ยวบิน STS-41-D ขึ้นไปในอวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2527 / ภาพจาก en.wikipedia.org

กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Space Shuttle Discovery) เป็นกระสวยอวกาศปฏิบัติการลำที่สามขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา หมายเลขประจำยาน คือ OV-103 (Orbiter Vehicle Designation: OV-103) ขึ้นไปในอวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2527 สำหรับภารกิจ 41-D เพื่อติดตั้งดาวเทียมสื่อสารสามดวง ดิสคัฟเวอรีเป็นกระสวยอวกาศลำที่มีระยะปฏิบัติการยาวนานที่สุดในบรรดากระสวยอวกาศทั้งหมด ดิสคัฟเวอรีมีปฏิบัติการหลายชนิด ทั้งงานวิจัย และภารกิจร่วมกับสถานีอวกาศนานาชาติ

กระสวยอวกาศลำนี้ได้ชื่อมาจากเรือสำรวจหลายลำในอดีตที่ชื่อ ดิสคัฟเวอรี โดยเรือดิสคัฟเวอรีลำแรก คือ HMS Discovery ของอังกฤษ ซึ่งเป็นเรือที่พานักสำรวจชาวอังกฤษ เจมส์ คุก (James Cook) เดินทางครั้งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรือดิสคัฟเวอรีอื่น ๆ อีกมากมาย

ยานดิสคัฟเวอรีเป็นกระสวยอวกาศที่ขึ้นไปปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope:HST) รวมทั้งภารกิจซ่อมแซมกล้องฮับเบิลในครั้งที่สองและสามด้วย นอกจากนี้ยังมีภารกิจปล่อยโพร้บยูลิสซิส (Ulysses) และดาวเทียม TDRS สามดวง ยานดิสคัฟเวอรีได้รับเลือกให้ทำหน้าที่แทนกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (ระเบิดเมื่อปี พ.ศ. 2529) และกระสวยอวกาศโคลัมเบีย(ระเบิดเมื่อปี พ.ศ. 2546)

กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีปลดระวางในปี พ.ศ. 2554 และเป็นกระสวยอวกาศลำที่สามจากสุดท้ายที่ทำการขึ้นบิน โดยมีเที่ยวบิน STS-133 เป็นภารกิจสุดท้าย

เรียบเรียงโดย ตะวันฉาย ทีมงาน iEnergyGuru

อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Space_Shuttle_Discovery
https://airandspace.si.edu/explore-and-learn/topics/discovery/about.cfm
www.nasa.gov/centers/kennedy/shuttleoperations/orbiters/discovery-info.html

iEnergyGuru-Blue

2 Reviews

5
5

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *