กำเนิด: ISO 50001

กำเนิด: ISO 50001

 

ในปัจจุบันทั้งผู้บริโภคและผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้รับทราบและมีความเข้าใจอย่างดีต่อการเลือกผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการต่าง ๆ ในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านการจัดการคุณภาพ ISO 9001 มาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และมาตรฐานการจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 18001 เป็นต้น

มาตรฐานการจัดการต่าง ๆ ที่สถานประกอบการได้ผ่านการรับรองเปรียบเสมือนเป็นการรับรองว่า การผลิตสินค้าและบริการของสถานประกอบการอยู่ในระดับสากล ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสถานประกอบการเหล่านั้น ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสนองต่อความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี

สำหรับมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 เป็นมาตรฐานการจัดการที่ว่าด้วยเรื่องของลักษณะการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพพลังงาน ขององค์กรหรือของสถานประกอบการที่ต้องการขอการรับรอง โดยมุ่งเน้นไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะพลังงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement of the organization energy performance) โดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้ประกาศให้สามารถขอการรับรองได้ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2554

image006

 

การปรับปรุงด้านสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง- PDCA

 ก้าวแรกของการเริ่มต้นมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001

ก้าวแรกของการเริ่มต้นในการพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการพลังงานนั้นเกิดจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Industrial Development Organization: UNIDO) ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของภาคส่วนอุตสาหกรรมในการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของมาตรฐานการจัดการพลังงานระดับชาติ โดยในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007  ทาง UNIDO ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมของผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงตัวแทนจากสำนักงานเลขาธิการกลางขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (The ISO Central Secretariat) และตัวแทนจากนานาชาติที่จะนำเอามาตรฐานการจัดการพลังงานนี้ไปใช้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้นำไปสู่การยื่นข้อเสนอของ UNIDO ที่สื่อสารไปยังสำนักงานเลขาธิการกลางขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization :ISO) เพื่อเรียกร้องให้ทาง ISO ได้พิจารณาเข้ามารับผิดชอบในการทำงานเกี่ยวกับการจัดตั้งมาตรฐานการจัดการพลังงานระดับสากลขึ้นมา

ตารางที่ 1  ช่วงเวลาและกิจกรรมก้าวแรกของมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน

ช่วงเวลา

กิจกรรม

2005 เริ่มต้นหารือกับเกี่ยวกับระบบการจัดการพลังงานในหลายประเทศ
2006 มีการหารือและพิจารณาเกี่ยวกับระบบการจัดการพลังงานในระดับนานาชาติ
เมษายน 2007 มีการจัดประชุมโดย UNIDO ถึงความจำเป็นในการกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานในระดับสากล
มีนาคม 2008 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization :ISO) เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงาน PC/242 Energy Management โดยประเทศสหรัฐ(ANSI) และ ประเทศบราซิล (ABNT) เป็นแกนนำของคณะทำงาน

ที่มา : J. Fossa-ICA-ABNT Brazil (Birth of PC242 Energy Management) Geneva-June 2011.

ทางกระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐฯ (The U.S. Department of Energy: DOE) และสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐฯ (ANSI) ก็ได้เห็นถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันและการใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุด เพื่อที่จะช่วยภาคส่วนอุตสาหกรรมในการพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจากที่ได้มีการส่งเสริมการใช้มาตรฐานระบบจัดการสำหรับพลังงาน (MSE 2000) อยู่แล้ว กระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐฯ จึงได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำในการรณรงค์ข้อเสนอ (Proposal) สำหรับมาตรฐาน ISO ใหม่นี้ ผลของการถกกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ และ ANSI ได้นำไปสู่ข้อเสนอที่เป็นทางการสำหรับ ISO ในการจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานโครงการนี้ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 คณะกรรมการบริหารทางด้านเทคนิคขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (The Technical Management Board of ISO) ได้อนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการสำหรับโครงการใหม่นี้ (Project Committee: PC) ที่เรียกว่า “ISO/PC 242–Energy Management” เพื่อที่จะพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการพลังงานใหม่ โดยจัดทำอยู่บนพื้นฐานของแนวทางการปฏิบัติที่ดีและก้าวล้ำหน้ามากที่สุด รวมถึงพิจารณาจากมาตรฐานระดับชาติหรือภูมิภาคที่มีอยู่เดิม

ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียดของคณะทำงานในการพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO/PC 242 Energy Management

คณะทำงาน

ISO/PC 242

ประธาน Mr. Edwin Dinero (ประเทศสหรัฐอเมริกา)
เลขานุการ ABNT (ประเทศบราซิล) และ ANSI (ประเทศสหรัฐอเมริกา)
ภารกิจ จัดทำและพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001
กรอบเวลาการทำงาน ค.ศ. 2008-2011/ 4 plenary meeting
ผู้เข้าร่วมประชุม 35 ประเทศ และผู้สังเกตการณ์ 5 ประเทศ Argentina (IRAM), Australia (SA), Barbados (BNSI), Belgium (NBN) Brazil (ABNT), Canada (SCC), Czech Republic (CNI), Chile (INN), China (SAC), Colombia (ICONTEC), Denmark (DS), Ecuador (INEN), Finland (SFS), France (AFNOR), Germany (DIN), Ireland (NSAI), Israel (SII), Italy (UNI), Japan (JISC), Kazakhstan (KAZMEMST), Korea Republic (KATS), Malaysia (MSB), Netherlands (NEN), Nigeria (SON), Pakistan (PSOCA), Poland (PKN), Portugal (IPO), Saint Lucia (SLBS), Singapore (SPRING SG), South Africa (SABS), Spain (AENOR), Sweden (SIS), Switzerland (SNV), Thailand (TISI), Tunisia (INNORPI), Turkey (TSE), United Kingdom (BSI), USA (ANSI), Zimbabwe (SAZ)

ที่มาของข้อมูล : Edwin Pinero PC 242 Chairman, IEA/IEC/ISO Workshop International Standards to Promote Energy Efficiency and Reduce Carbon Emissions.

กระบวนการในการพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001

หลังจากคณะกรรมการบริหารทางด้านเทคนิคขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน      (The Technical Management Board of ISO) ได้อนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการสำหรับโครงการใหม่นี้ (Project Committee: PC) ที่เรียกว่า “ISO / PC 242–Energy Management” ขึ้นแล้ว คณะกรรมการโครงการได้จัดให้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นการประชุมคณะทำงาน (Work Group) จำนวน 1 ครั้ง และเป็นประชุมของคณะกรรมโครงการ PC 242 อีกจำนวน 4 ครั้ง ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3  แสดงช่วงเวลาและกิจกรรมในการพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการพลังงานของคณะกรรมการโครงการ PC 242 Energy Management

ช่วงเวลา

กิจกรรม

เมษายน 2008 ประชุม Working Group ที่ประเทศจีนโดย UNIDO โดยเป็นการหารือเกี่ยวกับโครงสร้างของมาตรฐานการจัดการพลังงาน
กันยายน 2008 ประชุม PC 242 ครั้งที่ 1 ที่กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประชุมเริ่มต้นในการจัดทำร่างมาตรฐานฉบับฝ่ายทำงาน (Work Draft : WD)
มีนาคม 2009 ประชุม PC 242 ครั้งที่ 2  ที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล เป็นประชุมเพื่อวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะและเห็นชอบในระดับ ร่างมาตรฐานฉบับคณะกรรม (Committee Draft : CD)
พฤศจิกายน 2009 ประชุม PC 242 ครั้งที่ 3  ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นประชุมเพื่อวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะและเห็นชอบในระดับ ร่างมาตรฐานสากล (Draft of International Standard : DIS)
ตุลาคม  2010 ประชุม PC 242 ครั้งที่ 4  ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นประชุมเพื่อจัดทำ ร่างมาตรฐานสากลฉบับสุดท้าย (Final Draft of International Standard : FDIS)
มิถุนายน 2011 ประกาศเป็นมาตรฐานสากลด้านการจัดการพลังงาน ISO 50001

ที่มาของข้อมูล : Edwin Pinero PC 242 Chairman, IEA/IEC/ISO Workshop International Standards to Promote Energy Efficiency and Reduce Carbon Emissions.

การประชุม Working Group จัดขึ้นเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2008 ที่ประเทศจีนโดย UNIDO เป็นการหารือเกี่ยวกับโครงสร้างของมาตรฐานการจัดการพลังงาน และพิจารณานำมาตรฐานระดับชาติ ข้อกำหนด และระเบียบปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานที่มีอยู่แล้วมาประกอบการพิจารณา โดยมาตรฐานระดับชาติ ข้อกำหนด และระเบียบปฏิบัติด้านการจัดการพลังงาน แสดงในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 มาตรฐานระดับชาติ ข้อกำหนด และระเบียบปฏิบัติด้านการจัดการพลังงาน

Country Energy Management Nation Standard
Denmark DS 2403:2001 and DS/INF 136:2001
Ireland IS 393:2005
Sweden SS 627750:2003
United states ANSI/MSE 2000:2005 and ANSI/IEEE 739:1995
China China Management System for Energy
CEN prEn 16001
Australia AS3595-1990 and AS 3596-1992
Canada PLUS 1140:1995
Germany VDI 4602
Japan JIS Z 9211(1982-02-01) and JIS Z 9212(1983-01-01)
Korea B0071(1985)
Netherlands June 2004 publication of SenterNovem
United Kingdom BIP 2011:2003, HB 10190:2011, HB 1091:2002, PASS 55-1:2003 and PASS 55-2 : 2003
UNIDO Issues paper an energy management and outcomes of 21-22 March 2007 Experts Group Meeting

ที่มาของข้อมูล : Edwin Pinero PC 242 Chairman, IEA/IEC/ISO Workshop International Standards to Promote Energy Efficiency and Reduce Carbon Emissions.

  1. การจัดประชุมครั้งแรก ของ ISO/PC 242 เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 8–10 กันยายน ค.ศ. 2008 ที่กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ที่เป็นผู้แทนประเทศ จำนวนกว่า 80 คน จาก 25 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งมาจากหลากหลายภูมิภาคของโลก และยังมีตัวแทนจากองค์กรความร่วมมืออื่น ๆ รวมถึงผู้แทนประเทศไทยจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เข้าร่วมด้วย และได้จัดทำร่างมาตรฐานฉบับฝ่ายทำงานในครั้งแรก (Working Draft: WD) และได้เวียนเพื่อขอความคิดเห็น ซึ่งประเด็นสำคัญของการหารือ ก็คือ ความจำเป็นที่จะต้องแน่ใจว่าสามารถที่จะเข้ากันได้ (Compatibility) กับชุดมาตรฐานระบบจัดการที่มีอยู่เดิม (Suit of ISO Management System Standards) ดังนั้นคณะกรรมการจึงต้องนำประเด็นสำคัญนี้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อเป็นฐานในการจัดทำร่างสำหรับองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปที่พบในมาตรฐานระบบการจัดการทั้งหมดขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)
  2. การจัดประชุมครั้งที่ 2 ของ ISO/PC 242 ได้จัดขึ้นที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2009 สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้หารือกันในสาระสำคัญว่า จะทำอย่างไรเพื่อที่จะทำให้มาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน (ISO 50001) มีลักษณะพิเศษ นอกจากนี้แล้วยังมีการหารือกันถึงเรื่องของการพัฒนาสมรรถนะของการใช้พลังงาน (Energy Performance) ความจำเป็นสำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และความจำเป็นสำหรับความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านพลังงาน ทั้งนี้หลังจากการประชุมในครั้งแรกนั้น ก็ได้มีการหมุนเวียนร่างมาตรฐานฯ 2 ครั้ง และผลจากการประชุมที่ประเทศบราซิล ได้ร่างมาตรฐานฯ ฉบับคณะกรรมการ (Committee Draft: CD) ขึ้น
  3. การจัดประชุมครั้งที่ 3 ของ ISO/PC 242 ได้จัดขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2009 สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้หารือกันในสาระสำคัญเพื่อวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนา และผลของการประชุมได้เห็นชอบในดำเนินการ จัดทำมาตรฐานสากลฉบับร่าง (Draft of International Standard : DIS) และได้เวียนเพื่อขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสมาชิก
  4. การจัดประชุมครั้งที่ 4 ของ ISO/PC 242 ได้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน  ในเดือนตุลาคม  ค.ศ.2010 สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้หารือกันในสาระสำคัญเพื่อวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนา และผลของการประชุมได้เห็นชอบในดำเนินการ จัดทำร่างมาตรฐานสากลฉบับสุดท้าย  (Final Draft of International Standard : FDIS และได้เวียนเพื่อขอเห็นชอบจากสมาชิก และต่อมาคณะกรรมการโครงการได้นำเสนอคณะกรรมการบริหารทางด้านเทคนิคขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (The Technical Management Board of ISO) และประกาศให้ใช้เป็นมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน  ISO 50001 Energy Management เมื่อ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2011

ในปัจจุบันคณะกรรการ ISO/PC 242 Energy Management ยังได้ดำเนินการพิจารณา และออกมาตรฐานที่เป็นคำแนะนำในการดำเนินการของระบบการจัดการพลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001 อีกดังนี้

  • ISO 50002 First edition 2014-07-01 Energy audits — Requirements with guidance for use
  • ISO 50003 First edition 2014-10-15 Energy management systems — Requirements for bodies providing audit and certification of energy management systems
  • ISO/FDIS 50004 Energy management systems — Guidance for the implementation, maintenance and improvement of an Energy management system
  • ISO/FDIS 50006 Energy management systems — Measuring energy performance using energy baselines (EnB) and energy performance indicators (EnPI) — General principles and guidance
  • ISO FDIS 50015 Energy management systems - Measurement and Verification of Organizational Energy Performance —General Principles and Guidance

เรียบเรียงโดย : อ.วิชาญ นาคทอง (ทีมงาน iEnergyGuru)

เอกสารอ้างอิง

1) International Standard ISO 50001 : Energy management systems Requirements with guidance for use
2) Edwin Pinero PC 242 Chairman, IEA/IEC/ISO Workshop International Standards to Promote Energy Efficiency and Reduce Carbon Emissions, 2011.
3) J. Fossa-ICA-ABNT Brazil (Birth of PC242 Energy Management) Geneva-June 2011.
4) EnMS Audit/Internal Auditor ISO 50001:2011 Training, Bureau Veritas, 2012.
5) http://www.iso.org/iso/home/standards_development/resources-for-technical-work/support-for-developing-standards.htm, 2014.ienergyguru.com

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *