การประยุกต์ใช้ Nano cell ในเทคโนโลยีการพิมพ์สำหรับการผลิตแผงโซล่าเซลล์

การประยุกต์ใช้ Nano cell ในเทคโนโลยีการพิมพ์

สำหรับการผลิตแผงโซล่าเซลล์

 

image001

ปัจจุบันนี้ราคาของ Solar PV มีแนวโน้มที่ถูกลงเนื่องมาจากการผลิตที่รวดเร็วขึ้นและการเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ โดยเฉลี่ยแล้วระยะเวลาคืนทุนสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 6 ปี ซึ่งระยะเวลาคืนทุนดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาที่สั้นหรือยาวกว่านี้ขึ้นอยู่กับค่าไฟฟ้าในภูมิภาคนั้นๆ และการสนับสนุนของภาครัฐ

ถึงแม้ว่าราคาของ Solar PV จะถูกลงเรื่อยๆ ก็ตาม แต่ก็ยังมีหลายบริษัทกำลังคิดค้นและพัฒนา เพื่อลดต้นทุนของ Solar PV ต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การลดต้นทุนการติดตั้ง หนึ่งแนวทางการคิดค้นและพัฒนานี้คือการประยุกต์ PN Nano Cell ที่ใช้ในเทคโนโลยีการพิมพ์มาผลิตเป็นแผงโซล่าเซลล์

image002

บริษัทหมึกพิมพ์ได้หันมาใช้ Nano Inks ซึ่งเป็นผลึกเดี่ยว (Single Crystal) ระหว่าง ทองแดง (Copper) และ เงิน (Silver) ซึ่งมีต้นทุนที่ถูก โดยถ้านำวัสดุดังกล่าวมาประยุกต์เพื่อผลิตเป็นแผง Solar PV ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าแผง Solar PV แบบเดิมนั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลดลงได้ โดยมีการนำ PV Nano Cell เพื่อทำเป็นหมึกพิมพ์ในอุตสาหกรรมหมึกพิมพ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) และต่อมาได้มีบริษัทด้านพลังงานแสงอาทิตย์สนใจที่นำ Nano-technology ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับแผงโซล่า เนื่องจากมีประสิทธิภาพและความเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าที่ดี โดยในประเทศอเมริกานั้นมีการประชาสัมพันธ์การผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าชนิด Nano เพื่อดึงดูดประชาชนให้หันมาใช้พลังงานสะอาดนี้โดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง

โดยสรุปแล้วเมื่อราคาการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์มีราคาถูกลงนั้นจะเป็นการกระตุ้นให้มนุษย์หันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ลดภาระการใช้พลังงานจากแหล่งฟอสซิล ทำให้อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงซึ่งนำไปสู่โอกาสที่ดีขึ้นสำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอนาคต

 

 

Bibliography
PV Nano Cell’s Sicrys and How It Can Change Solar PV Technology. (May 2015). Retrieved from http://tek-think.com: http://tek-think.com/2015/06/02/pv-nano-cells-sicrys-and-how-it-can-change-solar-pv-technology/

ienergyguru.com


 

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *