เครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

เครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ (SOLAR THERMAL HYBRID AIR CONDITIONERS)

เครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

ในปัจจุบันเครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์( Solar Thermal Hybrid Air Conditioners) ได้รับการออกแบบและพัฒนาในหลายรูปแบบ โดยบริษัท Bayat Energy  ได้พัฒนาไว้จำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) Wall-Mounted  2) Floor Standing 3) Ceiling 4) Cassette แต่ละรูปแบบจะมีหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของห้องปรับอากาศ โดยลักษณะที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์คือความสามารถในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างน้อย   30%

 

เครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

รูปภาพแสดงการทำงานของ SOLAR THERMAL HYBRID AIR CONDITIONERS Image from https://usa.atlasglobalmarket.com/SEDNA-AIRE-WALL-MOUNTED-SINGLE-SPLIT-UNITS-MINI-SPLIT-HEAT-PUMP-24000-BTU-HR

เครื่องปรับอากาศแบบผสมผสานด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำงานโดยอาศัยหลักการแบบผสมผสาน (hybrid principle) โดยมันจะดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์มายังแผงรับความร้อนแบบสุญญากาศ (a vacuum solar collector) สารทำความเย็นจากเครื่องอัด (Compressor) ซึ่งวิ่งอยู่ในท่อทองแดงผ่านเข้าไปในชุดของแผงรับความร้อนเพื่อการแลกเปลี่ยนความร้อน สารทำความเย็นที่ได้รับความร้อนมาจากพลังงานแสงอาทิตย์จะกลับเข้าสู่กระบวนการระบายความร้อน (Condenser) และสู่การลดความดันในวงจรทำความเย็นของระบบปรับอากาศและให้ความเย็นที่ชุด Evaporator  ซึ่งพลังงานที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยให้การใช้พลังงานโดยรวมของเครื่องปรับอากาศลดลงเนื่องจากเครื่องปรับอากาศมีความต้องการเครื่องอัด (Compressor) ที่มีขนาดเล็กลง  ระบบดังกล่าวนี้จะใช้ร่วมกับชุดแลกเปลี่ยนความร้อนแบบ four-fold type heat exchanger  ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยชุดแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดนี้จะมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความร้อนเพิ่มขึ้น  20-30% เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ V-type และแบบ flat plat heat ที่ใช้งานกันอยู่โดยทั่วไป ซึ่งส่งผลให้เครื่องปรับอากาศชนิดนี้มีประสิทธิภาพทำความเย็นที่สูงขึ้น

แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.bayatenergy.co.uk/index.htm

0 Reviews

Write a Review

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *