Entries by iEnergyGuru.

Energy Conservation of Air Compressor : การอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัด

ระบบอากาศอัด ดัชนีการใช้พลังงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะบอกต้นทุนและปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดแต่ ละชุดที่ใช้งานร่วมกันจะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน เนื่องจากการสึกหรอของอุปกรณ์ประกอบต่างๆและขาดการบำรุงรักษาที่ดีดังนั้นผู้ใช้งานควรเก็บข้อมูลและตรวจสอบดัชนีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าและหาแนวทางในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type)

ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type)ดัชนีการใช้พลังงานผู้ใช้ระบบปรับอากาศต้องตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานในระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับสมรรถนะความสามารถเดิมว่าลดลงเท่าใด แล้วจึงหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะหรือทำการเปลี่ยนเครื่องใหม่ค่าสมรรถนะการทำความเย็นคือ ค่าพลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ต่อความสามารถในการทำความเย็น (kW/TR)

การอนุรักษ์พลังงานในหม้อไอน้ำ

หม้อไอน้ำ แต่ละชุดและอุปกรณ์ไอน้ำแต่ละชุดจะมีดัชนีที่แตกต่างกัน เนื่องจากประสิทธิภาพต่างกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการติดตามให้การทำงานของหม้อไอน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรตรวจสอบดัชนีอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานของหม้อไอน้ำมีรายการดังต่อไปนี้ความสามารถผลิตไอน้ำสมมูล คือ ความสามารถในการผลิตไอน้ำจริง (ตัน/ชั่วโมง)

Greenhouse Effect : ปรากฏการณ์เรือนกระจก – iEnergyGuru

Greenhouse Effect ปรากฏการณ์เรือนกระจก คือการที่โลกถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลก ซึ่งก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วแผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด ถ้าไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิโลกในตอนกลางวันจะร้อนจัด ส่วนกลางคืนจะหนาวจัด

Climate Change Expo 2015 “เพราะอากาศเป็นใจ”

Climate Change iEnergyGuru ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเป็นองค์กรภาคีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในงานมหกรรมเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ "Climate Change Expo 2015" ณ อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558

พายุเฮอริเคนแพทริเซีย: พายุที่มีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก…!

พายุเฮอริเคนแพทริเซีย ที่อาจมีความรุนแรงของลมพายุในระดับ 7 กำลังคุกคามชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก พายุลูกนี้ได้สร้างความเร็วลมศูนย์กลางพายุสูงสุดถึง 200 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเวลา 10 โมงเช้าของวันที่ 23 ตุลาคม 2015 (ข้อมูลจากศูนย์กลางพายุเฮอริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา)

“เพราะอากาศเป็นใจ” Climate Change Expo 2015

Climate Change Expo 2015 มาร่วมอัพเดทสถานการณ์ล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ผลกระทบอะไรบ้างที่เรากำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งทำความรู้จักว่า 'ใคร' กำลังช่วยให้เราตั้งรับ ปรับตัวกับปัญหานี้ได้ .

การประยุกต์ใช้การให้ความร้อนด้วยการเหนี่ยวนำไดอิเล็กทริกและคลื่นไมโครเวฟ

ไดอิเล็กทริก เมื่อนำวัตถุที่ไม่นำไฟฟ้า (วัตถุไดอิเล็กทริก) วางไว้ระหว่างขั้วไฟฟ้าที่เป็นแผ่นราบ 2 แผ่น แล้วจ่ายดันไฟฟ้ากระแสสลับให้ จะเกิดความร้อนขึ้นจากความสูญเสียในวัตถุไดอิเล็กทริก วัตถุไดอิเล็กทริกจะมี Electric Dipole ซึ่งมีขั้วบวกและลบอยู่ดังรูปด้านล่าง

การให้ความร้อนด้วยการอาร์ก (Electric-Arc)

Electric Arc หมายถึงปรากฏการณ์นำไฟฟ้าในก๊าซเนื่องจากการปลดปล่อยไฟฟ้าในบรรยากาศ ซึ่งจะเกิดกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงแต่แรงดันไฟฟ้าต่ำอุณหภูมิก๊าซของลำอาร์กจะสูงถึง 4,000-6,000 K การให้ความร้อนด้วยการอาร์กเป็นวิธีให้ความร้อนโดยใช้การอาร์กเป็นแหล่งความร้อนอุณหภูมิสูง ใช้กับการให้ความร้อน หลอม ถลุง ฯลฯ วัสดุต่างๆ เช่น เหล็กกล้า เป็นต้น

ELECTRIC INFRARED HEATING การให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด

การให้ความร้อนด้วย รังสีอินฟราเรด (ELECTRIC INFRARED HEATING) รังสีอินฟราเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าแสงที่มองเห็นได้ โดยอยู่ในช่วง 0.76 μm-1000 μm ความยาวคลื่นในช่วงนี้จะแบ่งย่อยลงไปอีกตามตารางที่ 1 แต่ในอุตสาหกรรมจะใช้ในช่วงตั้งแต่ความยาวคลื่นสั้นจนถึงประมาณ 25 μm

Plasma การประยุกต์ใช้พลาสมาในอุตสาหกรรมต่างๆ

การประยุกต์ใช้พลาสมาพลาสมา (Plasma) หมายถึง ก๊าซที่อยู่สภาพแตกตัวเป็นอิออน ซึ่งถือเป็นสถานะหนึ่งของสสาร (ดังรูปด้านล่าง)โดยมีจำนวนอิเล็กตรอนและอิออนบวกในจำนวนเกือบเท่ากัน รวมทั้งประกอบด้วยอนุภาคก๊าซที่เป็นกลาง ได้แก่ โมเลกุลหรืออะตอมที่อยู่ในสภาพถูกกระตุ้นอีกด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร 5 ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

เขื่อนปากมูล

เขื่อนปากมูลมีลักษณะเป็นเขื่อนทดน้ำไม่ใช่เขื่อนเก็บกักน้ำด้วยความสูงเพียง 17 เมตร เมื่อกักน้ำไว้ ระดับน้ำในแม่น้ำมูลจะสูงขึ้น ในสภาพน้ำเต็มตลิ่ง เป็นการใช้ความจุของลําน้ำเดิมเท่านั้นที่ตั้ง เขื่อนปากมูลสร้างปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเห่ว อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดไปตามลําน้ำประมาณ 82.5 กิโลเมตร ห่างจากปากแม่น้ำมูลที่ไหลลงแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร

โรงไฟฟ้าพลังน้ำลําตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ลําตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นโรงไฟฟ้า ที่นําพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เกินจากการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย คือช่วงหลังเที่ยงคืนจนถึงเช้ามาสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ําลําตะคองที่มีอยู่เดิมแล้ว ไปพักไว้ในอ่างพักน้ําที่สร้างขึ้นใหม่บนเขา แล้วปล่อยย้ำลงมาผ่านเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าให้เพียงพอและมั่นคงยิ่งขึ้น

บันไดเลื่อน (Escalators)

บันไดเลื่อน (ESCALATORS) คือระบบขนส่งด้วยสายพานแบบหนึ่งที่ใช้บันไดในการลำเลียงคนจำนวนมากด้วยความเร็วที่เหมาะสมและคงที่ การเคลื่อนที่ของบันไดเลื่อนจะใช้โซ่ที่มีข้อต่อ 1 คู่ (ลักษณะคล้ายโซ่จักรยานหรือรถยนต์ยนต์แต่ใหญ่กว่า) คล้องผ่านเกียร์หรือเฟือง 2 คู่ (ด้านบนและด้านล่างของบันได) เฟืองจะขับบันไดเลื่อนที่เรียงต่อกันหลายๆ ชั้นด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ระดับความเร็วคงที่ และเพื่อให้บันไดเลื่อนมีความปลอดภัยในการใช้งาน ราวบันไดจะถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับบันไดด้วยความเร็วเท่ากับ